top of page
ค้นหา

เอกชนแนะเร่งนำเข้าแรงงานต่างด้าว

เนื่องจากปัญหาช่วงโควิด แรงงานได้เดินทางกลับภูมิลำเนาแล้วกลับเข้ามาไม่ได้ ตอนนี้ภาค อุสาหกรรมการผลิตได้เจอ วิกฤตขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก

แรงงานคือปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการเปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจ หลังจากที่มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบให้กิจกรรมทางเศรษบกิจในหลายด้านต้องหยุดชะงัก หลายฝ่ายประเมินว่าการเปิดดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศมีแรงงานที่ยังขาดแคลนอีกไม่ต่ำกว่า 400,000-1 ล้านคน จำเป็นต้องนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีความกังวลต่อการแพร่เชื้อโควิด-19 จากกลุ่มแรงงานต่างด้าว ดังที่เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปี 2563


พจน์​ อร่ามวัฒนานนท์​ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย​ กล่าวว่า​ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ตัวเลขแรงงานกลับไปต่อพาสปอร์ตอยู่ประมาณเดือนละ​ 3 ​หมื่นกว่าคน​ เมื่อถึงช่วงวันที่ 1 เมษายนที่เริ่มมีการควบคุมการระบาดล็อกดาวน์ปิดประเทศยาวมาจนถึงวันนี้ดีมานด์หายไปมาก​ เมื่อแรงงานพม่่าหนีตายและหนีอดตายจากปัญหาในประเทศมาพร้อมเชื้อโควิด-19​ แล้วลักลอบหลบซ่อนโดยเฉพาะที่​ อ.มหาชัย ​

“จะเห็นได้ว่าปีที่แล้วอุตสาหกรรมเริ่มดีขึ้น ภาคการผลิตดีขึ้น​ ภาคการส่งออกของเราไม่ได้เลวร้ายเลย​ แต่มาปีนี้ดีมานด์แรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยมีอยู่ 4 ส่วนหลักๆคือ​ 1.อุตสาหกรรม​ 2.ก่อสร้าง​ 3.เกษตรกร​ 4.บริการ​ ภาคอุตสาหกรรมพอโตจากการส่งออกแรงงานก็อยากกลับเข้ามา​ ภาคก่อสร้างเราอาศัยกัมพูชาเยอะและพม่า​ เราต้องรีบนำแรงงานกลับเข้ามาเพราะมีโครงการเมกะโปรเจคต์ค้างเยอะมาก​ ภาคเกษตรเดือดร้อนหนักเป็นซีซั่นเก็บเกี่ยวของแต่ละจังหวัด​ แต่ภาคบริการมีปัญหาเพราะปิดเมืองเจ้าของปิดกิจการจึงไม่มีคน จึงมีการจูงใจให้ลักลอบเข้ามา​ ตัวเลขประมาณ​ 5​ แสนคน​แต่ส่วนตัวผมว่าเกิน​ ถ้าไม่มีการระบาดรอบใหม่​ เศรษฐกิจเดิน​ ผมว่ามีสิทธิขาดแคลนแรงงานถึง 1 ล้านคนรวมภาคเกษตรด้วย" รองประธานกรรมการหอการค้าไทย​ กล่าว


บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ที ดับบลิวเวิลด์ จำกัด


มีบริการจัดหา และ นำเข้าแรงงานต่างด้าว 3สัญชาติ ผ่านระบบ MOU ซึ่งแรงงานที่เข้าทำงานกับผู้ประกอบการทุกท่านเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฏหมาย มีเอกสารครบทุกอย่าง.

สำหรับผู้ประกอบการท่านไหนที่ต้องการแรงงาน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสาร หรือ ขั้นตอนการดำเนินการเลย เพราะว่า ที ดับบลิว มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้คำปรึกษาเรื่องเอกสารครบวงจร






 








ดู 20 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page