top of page
ค้นหา

ไต้หวันยังคงต้องแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงาน

แนวโน้ม-โอกาส

ไต้หวันยังคงมีความต้องการแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้

     (1) จากตัวเลขความต้องการจ้างแรงงานไทย ซึ่งพิจารณาจากจำนวนแรงงานที่นายจ้างยื่นขอรับรองตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – สิงหาคม 2567    จำนวน 22,494 คน ซึ่งหากเทียบกับปี 2566 เพิ่มขึ้น 4.45 %


     (2) ไต้หวันอยู่ระหว่างพัฒนาเทคโนโลยี 5G และ AI แต่ขาดกำลังแรงงาน ในอุตสาหกรรมการทำชิป รัฐบาลจึงได้ดำเนินโครงการบ่มเพาะผู้มีทักษะเฉพาะเพื่อให้เข้าไปพัฒนาอุตสาหกรรม Semiconductor โดยร่วมมือกับหน่วยงานด้านแรงงานและมหาวิทยาลัยชั้นนำ National Yang Ming Chiao Tung University (NYCU) โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการอบรมออนไลน์เพื่อให้มีทักษะเฉพาะด้านการผลิตชิปหน่วยงานจำและวงจรเบ็ดเสร็จ  ในภาคการศึกษาแรก จะได้รับโอกาสเข้าสัมภาษณ์งานกับบริษัท Powerchip Semiconductor Manufacturing Corporation ปัจจุบัน มีนักศึกษาเกือบ 50%  จากหลายสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาขาด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมไฟฟ้า อาทิ พยาบาล เศรษฐศาสตร์ และภาษา ได้รับการอบรมในชั้นเรียนสหศึกษา ซึ่งคาดว่านักศึกษากลุ่มนี้จะสามารถประกอบอาชีพในโรงงาน Semiconductor ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และจะได้รับเบี้ยเลี้ยงรายเดือนสูงสุด 8,000 เหรียญไต้หวัน รวมทั้งได้รับการจัดลำดับแรกในการหางานกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ อาทิ Wistron, Innolux, UMC, Coretronic, และ AppoTech. เป็นต้น


     (3) ความต้องการกำลังแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานโดยเฉพาะในภาคการผลิตและภาคก่อสร้างยังถือเป็นตลาดแรงงานที่มีคุณภาพและเปิดโอกาส     ให้แรงงานไทยอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไต้หวัน  โดยนายจ้างไต้หวันมีความชื่นชอบในฝีมือของแรงงานไทย อีกทั้งยังมีความใกล้เคียงด้านวัฒนธรรมและศาสนา นอกจากนี้ ไต้หวันยังมีการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายเดือนทุกปี และมีการปรับปรุงกฎหมายมาตรฐานแรงงาน ที่ให้ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ของแรงงานท้องถิ่นและแรงงานต่างชาติอย่างเท่าเทียมกันภายใต้ระบบประกันภัยแรงงานและระบบประกันสุขภาพ รวมทั้งมีการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้กับแรงงานแม้ว่าจะเดินทางกลับประเทศแล้ว ทำให้แรงงานไทยยังเดินทางมาทำงานไต้หวันเพิ่มมากขึ้น จากสถิติการยื่นขอจ้างแรงงานไทยที่ สนร. ไทเป พบว่าในปีงบประมาณ 2567 (ต.ค. 66 – ส.ค 67) นายจ้างยื่นขอจ้างแรงงานไทย จำนวน 22,494 คน


     (4) การขอให้มีการขยายตลาดแรงงานภาคบริการ : กฎหมายแรงงานไต้หวัน แรงงานภาคบริการ จะสงวนสิทธิให้เฉพาะแรงงานไต้หวันเท่านั้น   แต่เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดการท่องเที่ยวในไต้หวัน เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ ทำให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาเที่ยว แต่เนื่องจากศักยภาพของแรงงานภาคบริการในโรงแรม มีจำนวนน้อย ประกอบกับงานประเภทนี้ชาวไต้หวันไม่นิยมที่จะทำเนื่องจากรายได้น้อย และไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง จึงให้ขาดแคลนแรงงานภาคบริการบางโรงแรมมีห้องพักถึง 300 ห้อง แต่เปิดได้เพียง 100 ห้องเท่านั้น เนื่องจากไม่มีพนักงานทำความสะอาด และพนักงานปูเตียง  ถ้าทางไต้หวัน ได้มีโควตาสำหรับแรงงานภาคบริการ จะทำให้เศรษฐกิจของไต้หวันเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และทางประเทศไทย ก็พร้อมจะส่งแรงงานภาคบริการมาทำงานในไต้หวัน

นอกจากนี้จากการสำรวจกรมการท่องเที่ยว กระทรวงคมนาคมไต้หวัน พบว่าในปี 2566  การขาดแคลนแรงงานภาคบริการโรงแรมประมาณ 8,000 คน สำหรับแรงงานทำความสะอาดจัดการความเรียบร้อยในห้องพัก ขาดแคลนถึง 5,500 คน  แหล่งข่าว http://udn.com วันที่ 27 กรกฎาคม 2567


 อุตสาหกรรมการผลิตในไต้หวันที่มีสภาพการจ้างและรายได้ดีในปัจจุบันส่วนใหญ่ได้แก่อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก และอุตสาหกรรมทั้งสามประเภทดังกล่าวมีความต้องการจ้างแรงงานต่างชาติปีละประมาณ 15,000 – 18,000 คน โดยมีแรงงานฟิลิปปินส์ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด คือร้อยละ 63.92 และรองลงมาเป็นแรงงานไทย ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 23.58  


     สาเหตุที่แรงงานไทยได้ส่วนแบ่งตลาดในภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งสามประเภทข้างต้นน้อยกว่าแรงงานฟิลิปปินส์ เนื่องจากแรงงานไทยที่มีคุณสมบัติตรงตามที่นายจ้างต้องการ คือ มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ปวช. และปวส. มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในการทำงานได้ดี และมีความต้องการจะไปทำงานในไต้หวันมีจำนวนน้อย  ดังนั้น การเพิ่มส่วนแบ่งตลาดแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมนี้  จะต้องพัฒนาแรงงานไทยที่มีความต้องการจะไปทำงานในไต้หวัน  ให้มีคุณสมบัติและพฤติกรรมตามความต้องการของตลาดดังกล่าวให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น      

ขอบคุณแหล่งข่าว https://taipei.mol.go.th/




ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

ความคิดเห็น


bottom of page